โรคเก๊า
โรคเก๊าท์เกิดจาก
ไม่ว่า โรคเก๊าท์เกิดจาก กรรมพันธุ์หรือไม่ สาเหตุของ โรคเก๊า ก็เกิดจากการสะสมของกรดยูริคในร่างกายที่เกินกว่าปกติ ซึ่งเนื่องมาจากภาวะไตอ่อนแอ จนไม่สามารถขับกรดยูริคออกยจากร่างกายได้เพียงพอด้วยวิธีทางธรรมชาติ เมื่อมีปริมาณการสะสมของกรยูริคในร่างกายมากกว่าปกติเป็นระยะเวลานาน กรดยูริคจะเริ่มเกิดการตกผลึกสะสมอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะตามข้อต่อต่างๆ จนทำให้เกิดอาการอักเสบและปวดบวมแดงอาการโรคเก๊า
อาการของโรคเก๊า มีอาการปวด บวม แดง ร้อนตามข้อ และเจ็บ อาจรุนแรงจนถึงกับเดินไม่ได้ก็มี อาการนี้จะเป็น ๆ หาย ๆ จะทิ้งช่วงระยะเวลาเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ ซึ่งอาการปวดของ โรคเก๊า อาจจะเป็นข้อเดียวหรือหลายข้อพร้อมกันก็ได้ ข้อที่เป็นบ่อย เช่น ข้อเท้า ข้อหัวแม่เท้าหรือหัวข้อเข่า นอกจาก อาการโรคเก๊า ที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอาจมีอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นต้นเหตุและปัญหาหลักของ โรคเก๊าท์ คือ การทำงานของไตที่ผิดปกตินั่นเอง การบำรุงรักษาไตจึงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นการรักษาที่ตรงจุดที่สุด เราจะกล่าวถึง การรักษา อาการโรคเก๊า และการลดกรดยูริค ในบทความต่อไปการรักษาโรคเก๊าท์ และ วิธีรักษา
โรคเก๊า เป็นแล้วโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้อาจมีน้อย ต้องรับการรักษาไปตลอดชีวิต ทั้งนี้เพราะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม วิธีที่จะช่วยได้ดีที่สุด คือ การบำรุงรักษาไตพยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีน หรือ อาหารที่ทำให้ไตเสื่อมสภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอร์ ทานยาตามที่แพทย์สั่ง อาหารเสริมหรือสมุนไพรที่ช่วยในการบำรุงไตข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย โรคเก๊า
เป็นที่น่าแปลกใจไม่น้อยที่ท่านสามารถจะอยู่เป็นปกติสุขได้ ถ้าเพียงแต่ท่านจะปฏิบัติตนกลาง ๆ ดูแลรักษาไตให้ดี เพื่อบรรเทา และควบคุม อาการโรคเก๊า ท่านควรปฏิบัติตน ดังนี้- รับประทานอาหารตามปกติ และให้ร่างกายได้รับคุณค่าอาหารที่เพียงพอ ไม่ควรรับประทานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ไม่ควรรับประทานอาหารที่แพทย์สั่งห้าม
- นอนหลับให้เพียงพอ การที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการ โรคเก๊าท์ ชนิดฉับพลันได้ง่าย
- สวมรองเท้าขนาดพอเหมาะ ลดความชอกช้ำที่ร่างกายได้รับ เช่น จากการสวมรองเท้าที่คับเกินไป จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ โรคเก๊าท์ ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้
- ควบคุมน้ำหนักของร่างกาย การที่น้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนเกินไปจะทำให้การรักษาโรคเก๊าท์ ยุ่งยาก ซับซ้อน และอาจทำให้อาการโรครุนแรงยิ่งขึ้น
- ควรดื่มน้ำมาก ๆ ผู้ป่วยด้วย โรคเก๊า มักจะมีก้อนนิ่วเกิดขึ้นในไตได้ง่าย การดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตร) จะช่วยได้มากในเรื่องนี้
- ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เมื่อจะเดินทางไกล ควรนำยาติดตัวไปด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหายาหมด
- ทานอาหาร หรือ อาหารเสริม ที่ช่วยในการบำรุงไต เพื่อให้ไต สามารถขะจัดกรดยูริคออกจากร่างกายได้อย่างปกติ
- ควรแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบว่าท่านเป็น โรคเก๊าท์ ในกรณีที่ท่านจะได้รับการผ่าตัด แม้การผ่าตัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะกระตุ้นให้เกิด อาการโรคเก๊าท์ ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้ จึงควรแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบก่อนทำการผ่าตัด เพื่อศัลยแพทย์จะได้หามาตรการบางอย่างเพื่อปฏิบัติต่อไป
ข้อพึงงดเว้นสำหรับผู้ป่วยโรค เก๊าท์
- อย่าเอาความวิตกกังวลไปเป็นเพื่อนนอน เพราะความวิตกกังวลจะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้- อย่าออกกำลังกายหักโหม ควรปฏิบัติหน้าที่การงานหาความเพลิดเพลิน และออกกำลังกายตามที่ท่านเคยปฏิบัติมา แต่อย่าให้มากเกินไป
- อย่าปล่อยให้ร่างกายได้รับความเย็นมากเกินไป ผู้ป่วยด้วย โรคเก๊า มักทนต่อความเย็นไม่ค่อยได้ ฉะนั้น จึงควรใช้เครื่องนุ่งห่มที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายพอสมควร
- อย่ารับประทานยาอื่นใดนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ก่อนที่จะปรึกษากับแพทย์ของท่าน เพราะยาบางอย่างอาจออกฤทธิ์ตรงข้ามกับฤทธิ์ของยารักษา อาการโรคเก๊า
- อย่าดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์มากจนเกินไป ปริมาณแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปอาจทำให้เกิด อาการโรคเก๊า ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้ ขอให้ท่านปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์